เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

ประชุมส.ส.13.9.2019

ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลกระทบโครงการอีอีซี

ญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและตรวจสอบผลกระทบจากการดำเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การวางผังเมือง และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

สถานะ ไม่ผ่านผู้เข้าร่วมประชุม 496 คน
นาย กนก ลิ้มตระกูล
นาย กนก ลิ้มตระกูล
ส.ส. แบ่งเขต จังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 1 พรรคเพื่อไทย
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 223
ไม่เห็นด้วย 231
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 40

เนื้อหา

Eastern Economic Corridor (EEC) หรือ โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล คสช.2 ซึ่งสานต่อมาจากแผนเศรษฐกิจเดิมที่ดำเนินมาตั้งแต่ยุคแรกที่ คสช.1 โดยมี 'สมคิด จาตุศรีพิทักษ์' เป็นผู้ผลักดันคนสำคัญ ภาพในฝันของการดำเนินโครงการแบบ EEC คือ การพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ในสามจังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุด ของโครงการอีอีซี คือ การพุ่งขึ้นของราคาที่ดินและการค้าที่ดิน ทำให้เกษตรกรที่เคยเช่าที่ดินทำการเกษตรและการประมงมายาวนาน ต้องถูกยกเลิกสัญญาเช่าโดยทันทีเมื่อเจ้าของที่ดินขายที่ดินให้กับนักลงทุน และผลกระทบที่จะตามมาอย่างที่สอง คือ ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงสามพรรคการเมืองได้แก่ อนาคตใหม่ ประชาธิปัตย์ และพลังประชารัฐ เสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญตรวจสอบผลกระทบโครงการอีอีซี โดยใช้ชื่อและวัตถุประสงค์การทำงานต่างกันไป หลังจากญัตตินี้ถูกเลื่อนพิจารณาหลายครั้ง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญด้วยเสียง 231 ต่อ 223 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากผู้เข้าประชุม 456 คน

อ้างอิง

http://msbis.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_report/main_warehouse.php?m_id=4158

เอกสารการลงมติ

บันทึกคะแนนเสียง

เห็นด้วย (223)

ไม่เห็นด้วย (231)

งดออกเสียง (2)

ไม่ลงคะแนน (40)