เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

65% เห็นด้วย

ร่างพรรคภูมิใจไทย ฉบับที่ 2 เสนอหลักประกันรายได้ถ้วนหน้า (UBI)

ร่างที่นำเสนอโดยพรรคภูมิใจไทย ฉบับที่ 2 ประเด็นรายได้ถ้วนหน้า เพิ่มเติมมาตรา 55/1 เขียนว่า รัฐต้องจัดให้ประชาชนได้รับรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 476
ไม่เห็นด้วย 78
งดออกเสียง 152
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

64% เห็นด้วย

ร่างพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 1 เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค

ร่างที่นำเสนอโดยประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 1 ประเด็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน 1) เพิ่มมาตรา 29 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 2) เพิ่มมาตรา 43 เอาหลักการเรื่ององค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกลับคืนมา ซึ่งเคยมีในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 3) แก้ไขมาตรา 46 เรื่องสิทธิผู้บริโภค คุ้มครองสิทธิได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง ได้รับการเยียวยาความเสียหาย สิทธิการรวมตัว และกำหนดให้ “ต้องมี” องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รับงบประมาณจากรัฐ ซึ่งต่างจากฉบับปี 2560 ที่กำหนดเพียงให้ผู้บริโภคมีสิทธิจัดตั้งองค์กร 4)เพิ่มเติมมาตรา 72 แนวนโยบายแห่งรัฐเกี่ยวกับที่ดิน น้ำ พลังงาน โดยให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึงโดยการ “ปฏิรูปที่ดิน” รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสม

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 469
ไม่เห็นด้วย 75
งดออกเสียง 162
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

57% เห็นด้วย

ร่างพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 2 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการแก้รัฐธรรมนูญ

ร่างที่นำเสนอโดยประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 2 ตัดอำนาจ ส.ว. ขวางแก้รัฐธรรมนูญ แก้ไขมาตรา 256 ให้การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เสียง 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา ไม่ต้องใช้เสียงพิเศษของ ส.ว. ชุดพิเศษ ซึ่งเป็นข้อเสนอคล้ายกับร่างฉบับสุดท้ายที่ไม่ผ่านวาระสามในเดือน 17 มีนาคม 2564

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 415
ไม่เห็นด้วย 102
งดออกเสียง 189
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

59% เห็นด้วย

ร่างพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 3 กระบวนการตรวจสอบ ป.ป.ช.

ร่างที่นำเสนอโดยประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 3 กระบวนการตรวจสอบ ป.ป.ช. 1) แก้ไขมาตรา 236 ยกเลิกสิทธิของประชาชนที่จะเข้าชื่อกัน 20,000 คนเพื่อเสนอเรื่องให้ตรวจสอบและถอดถอนกรรมการป.ป.ช. 2) แก้ไขมาตรา 237 กรณี ป.ป.ช. ร่ำรวยผิดปกติ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จากเดิมที่ต้องส่งให้อัยการสูงสุด ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เปลี่ยนเป็นเสนอเรื่องต่อ “ศาลฎีกา” เพื่อวินิจฉัย

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 431
ไม่เห็นด้วย 97
งดออกเสียง 178
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

63% เห็นด้วย

ร่างพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 4 แก้เรื่องที่มานายกรัฐมนตรีและยกเลิกอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

ร่างที่เสนอโดยประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 4 ที่มานายกรัฐมนตรี 1) แก้ไขมาตรา 159 เรื่องที่มานายกรัฐมนตรี ให้เลือกนายกฯ จากบัญชีว่าที่นายกฯ ก็ได้ หรือเลือกจาก ส.ส. คนใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส. จำนวนเท่าใด 2) ยกเลิกมาตรา 272 เรื่องช่องทางที่มานายกรัฐมนตรีคนนอก และอำนาจของ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ รัฐมนตรี

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 461
ไม่เห็นด้วย 96
งดออกเสียง 149
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

62% เห็นด้วย

ร่างพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 5 ประเด็นกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ร่างที่นำเสนอโดยประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 5 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 1) เพิ่มมาตรา 76/1 และ 76/2 แนวนโยบายแห่งรัฐ ให้กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นมีสิทธิจัดการศึกษา ฝึกอบรม ฝึกอาชีพ ตามความเหมาะสม มีหน้าที่ส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กิจการใดที่ไม่ได้บัญญํติห้ามไว้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมทำได้ 2) เขียนมาตรา 250 ใหม่ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจของตนเองโดยเฉพาะ และให้มีกฎหมายรายได้ท้องถิ่นภายในสามปี 3) เขียนมาตรา 251 ใหม่ ให้รัฐส่วนกลางกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่าที่จำเป็น ไม่กระทบถึงหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยจัดทำมาตรฐานกลางสำหรับการกำกับดูแลขึ้น 4) เขียนมาตรา 252 ใหม่ จากเดิมที่กำหนดเพียงให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง หรือวิธีอื่น เป็นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรรงร หรือมาจากความเห็นชอบของสภาทัองถิ่น ที่ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น และห้ามผู้บริหารท้องถิ่นเป็นข้าราชการที่มีผลประโยชน์ขัดกัน 5) เขียนมาตรา 254 ใหม่ ให้การแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามความเหมาะสมของท้องถิ่น ให้มีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เขียนรับรองสิทธิของประชาชนที่จะเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น อีกต่อไป

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 457
ไม่เห็นด้วย 82
งดออกเสียง 167
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021
<1234567891011>