เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

29% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 5)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติฝ่ายค้านยกเลิกมาตรา 279 ยกเลิกการรับรองความเห็นชอบด้วยกฎหมายของประกาศ คำสั่ง และการกระทำโดยคสช.

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 209
ไม่เห็นด้วย 48
งดออกเสียง 459
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020

37% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 6)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติฝ่ายค้านแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เลือกส.ส. แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขต

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 267
ไม่เห็นด้วย 19
งดออกเสียง 430
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020

29% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 7)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติแก้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ilaw รวม 10 ประเด็น เช่น ถอนอำนาจคสช. , ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 211
ไม่เห็นด้วย 137
งดออกเสียง 368
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020

43% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ. วิสามัญ ศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต

จากกรณี ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ยกประเด็นว่าการรัฐประหาร 2 ครั้งล่าสุดเป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤติการการเมือง ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาการเมือง แต่กลับใช้การรัฐประหาร เกิดการแตกขั้วทำลาย ความชอบธรรมจากการเลือกตั้งและความชอบธรรมจากการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้นจึงอยากให้พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต ประกาศศักดิ์ศรีของผู้แทนราษฎรว่าจะไม่ยอมจำนนต่อคณะรัฐประหาร และไม่ใช่ผู้แทนของคณะรัฐประหาร อีกทั้งญัตตินี้ไม่มีผลต่อความมั่นคงของรัฐบาล ไม่กระทบการทำงานของรัฐบาลที่ยังบริหารงานต่อไปได้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก 242 เสียง ไม่เห็นชอบให้มีการตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางป้องกันรัฐประหารฯ ดังกล่าว โดยมีผู้เห็นชอบจำนวน 216 เสียง งดออกเสียง 2 ราย จากจำนวนผู้เข้าประชุม 460 ราย

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 215
ไม่เห็นด้วย 242
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 38
20.2.2020

2% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาโครงการจัดตั้งกระทรวงการข้าว

ด้วยปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่กลับมีฐานะยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบมาโดยตลอด อีกทั้งการบริหารจัดการข้าวในอดีตเป็นภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการข้าวได้อย่างมีระบบและครบวงจร จนเกิดช่องว่างระหว่างภาคการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ จึงมีญัตติขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการจัดตั้งกระทรวงการข้าว แต่เนื่องจากสมาชิกมีความเห็นต่าง ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ประธานได้ขอมติที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 343 เสียง ให้ส่งคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 10
ไม่เห็นด้วย 342
งดออกเสียง 0
ไม่ลงคะแนน 144
16.1.2020

71% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ. วิสามัญ ตรวจสอบโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

จากกรณีที่สังคมตั้งคำถามว่า การก่อสร้างรัฐสภาใหม่ ที่สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ว่าจ้างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท สัญญาหลัก 900 วัน ที่ต้องแล้วเสร็จ 24 พ.ย. 2558 นั้น มีเหตุผลอย่างไรที่ทำการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและต้องต่อสัญญาไปอีก 4 ครั้ง ทำให้รวมเวลาก่อสร้างอาคารทั้งหมดกว่า 2,000 วัน ทั้งนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลที่อ้างเพื่อขยายสัญญาก่อสร้างให้ผู้รับจ้างนั้น เพราะมีการแก้ไขแบบ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถแก้ไขแบบได้โดยใช้เวลาไม่นาน มีเจตนาทำให้แบบมีปัญหาหรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ผู้ว่าจ้างขยายสัญญาโดยผู้รับจ้างไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย ที่ประชุมสภาฯ มีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ 354 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 60 วัน ทั้งนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ได้แจ้งให้ทราบด้วยว่า ตนให้เลขาธิการสภาฯ ศึกษากระบวนการใช้พื้นที่อาคารรัฐสภา ซึ่งเป็นเรื่องของการเตรียมการไว้ในอนาคตด้วย

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 353
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 142
21.12.2019
<1234567891011>