เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

41% เห็นด้วย

อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ร้อยเอก ธรรมนัส พรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน ยื่นรายชื่อส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน 208 คน เพื่อยื่นญัตติด่วนขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 10 รัฐมนตรีจาก 3 พรรคร่วมรัฐบาล โดยยื่นญัตติร้อยเอก ธรรมนัส พรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าบริหารราชการแผ่นดินบกพร่องล้มเหลวอย่างร้ายแรง มีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้งบประมาณของรัฐเอื้อประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง โดยไม่รักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 199
ไม่เห็นด้วย 273
งดออกเสียง 5
ไม่ลงคะแนน 8
20.2.2021

50% เห็นด้วย

ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ

ญัตติด่วนที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และนายสมชาย แสวงการ ส.ว. ได้ขอให้รัฐสภาพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ของรัฐสภา ในการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 363
ไม่เห็นด้วย 315
งดออกเสียง 15
ไม่ลงคะแนน 40
9.2.2021

79% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 1)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติแก้ไขมาตรา 256 พรรคร่วมฝ่ายค้าน ให้ส.ส.ร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 574
ไม่เห็นด้วย 21
งดออกเสียง 121
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020

88% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 2)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติแก้ไขมาตรา 256 พรรคร่วมรัฐบาล ให้ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้ง 150 คน แต่งตั้ง 50 คน

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 644
ไม่เห็นด้วย 17
งดออกเสียง 55
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020

29% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 3)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติฝ่ายค้าน ยกเลิกมาตรา 270 และ 271 ยกเลิกการใก้อำนาจ ส.ว.ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 213
ไม่เห็นด้วย 34
งดออกเสียง 468
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020

36% เห็นด้วย

พิจารณารับหลักการ หรือไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ฉบับ (ฉบับที่ 4)

การประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จำนวน 7 ญัตติ ซึ่งรวมร่างแก้ไขที่เสนอโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ซึ่งประชาชนร่วม 1 แสนคนได้ลงชื่อสนับสนุนด้วย ดังนี้ โดยญัตติฝ่ายค้านแก้ไขมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 ที่ตัดอำนาจไม่ให้ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ช่วง 5 ปีแรก

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 266
ไม่เห็นด้วย 20
งดออกเสียง 430
ไม่ลงคะแนน 13
18.11.2020
<1234567891011>