เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

45% เห็นด้วย

ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาผลกระทบโครงการอีอีซี

Eastern Economic Corridor (EEC) หรือ โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล คสช.2 ซึ่งสานต่อมาจากแผนเศรษฐกิจเดิมที่ดำเนินมาตั้งแต่ยุคแรกที่ คสช.1 โดยมี 'สมคิด จาตุศรีพิทักษ์' เป็นผู้ผลักดันคนสำคัญ ภาพในฝันของการดำเนินโครงการแบบ EEC คือ การพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ในสามจังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุด ของโครงการอีอีซี คือ การพุ่งขึ้นของราคาที่ดินและการค้าที่ดิน ทำให้เกษตรกรที่เคยเช่าที่ดินทำการเกษตรและการประมงมายาวนาน ต้องถูกยกเลิกสัญญาเช่าโดยทันทีเมื่อเจ้าของที่ดินขายที่ดินให้กับนักลงทุน และผลกระทบที่จะตามมาอย่างที่สอง คือ ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงสามพรรคการเมืองได้แก่ อนาคตใหม่ ประชาธิปัตย์ และพลังประชารัฐ เสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญตรวจสอบผลกระทบโครงการอีอีซี โดยใช้ชื่อและวัตถุประสงค์การทำงานต่างกันไป หลังจากญัตตินี้ถูกเลื่อนพิจารณาหลายครั้ง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญด้วยเสียง 231 ต่อ 223 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากผู้เข้าประชุม 456 คน

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 223
ไม่เห็นด้วย 231
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 40
13.9.2019

83% เห็นด้วย

ขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส

วันที่ 5 กันยายน 2562 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่เห็นควรให้ขยายสัมปทานทางด่วน เพื่อยุติข้อพิพาทระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) (BEM) และไม่ขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส ที่จะสิ้นสุดในปี 2572 ด้วยคะแนน 412 ต่อ 25 งดออกเสียง 20 คะแนน ซึ่งเมื่อผ่านการลงมติจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้นำไปปฏิบัติต่อไป

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 412
ไม่เห็นด้วย 24
งดออกเสียง 20
ไม่ลงคะแนน 42
5.9.2019

20% เห็นด้วย

ตั้งคณะกรรมาธิการผู้มีความหลากหลายทางเพศ

วันที่ 22 สิงหาคม 2562 การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุม ในประเด็นเรื่องคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในร่างที่เสนอมามี 35 คณะ แต่ น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เสนอขอเพิ่มเป็น 36 คณะ โดยเสนอให้มีคณะกรรมาธิการผู้มีความหลากหลายทางเพศ แยกออกมาจากต่างหากจากคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมไม่เห็นชอบกับคำแปรญัตติของ น.ส.ณธีภัสร์ ด้วยคะแนน 365 ต่อ 101 และงดออกเสียง 13 ส่งผลให้กรรมาธิการสามัญ จะมีจำนวน 35 คณะตามร่างเดิม

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 100
ไม่เห็นด้วย 365
งดออกเสียง 13
ไม่ลงคะแนน 20
22.8.2019
<1234567891011>