เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

82% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.วิสามัญ ตรวจสอบละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากกรณีการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกประทุษร้ายของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ส.ส. หลายพรรคเห็นว่าเกิดจากข้อผิดพลาดเรื่องการกำหนดนโยบายรัฐบาลทั้งอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่มีการละเมิดสิทธิการเคลื่อนไหวการต่อสู้ เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญทั่วประเทศนั้นก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่กลับหาตัวผู้ทำผิดหรือผู้อยู่เบื้องหลังมาลงโทษไม่ได้ สภาผู้แทนราษฎร จึงเห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจ สอบและศึกษา ติดตามการทำงานของหน่วยงานภาครัฐต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกประทุษร้ายของประชาชน เพื่อตรวจสอบและติดตาม

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 410
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 85
19.12.2019

1% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.วิสามัญ ศึกษาผลกระทบจาก ม. 44

จากญัตติด่วนให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจาก ม.44 ที่คงอยู่หลังช่วงรัฐประหาร ในวันที่ 27 พ.ย. 2562 ที่ประชุมได้ลงมติให้ตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าว ผลการลงมติ เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 236 เสียง ไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 231 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง แต่นายวิรัช รัตนเศรษฐ (พรรคพลังประชารัฐ) เสนอญัตติขอให้นับคะแนนใหม่ โดยมีผู้รับรองถูกต้อง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมว่าสมาชิกสามารถใช้สิทธิให้นับคะแนนใหม่ได้ ตามข้อบังคับฯ ข้อ 85 โดยเปลี่ยนวิธีการนับคะแนนใหม่เป็นวิธีเรียกชื่อสมาชิกตามหมายเลขประจำตัวสมาชิก ตาม ข้อบังคับฯ ข้อ 83 (2) ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านได้อภิปรายไม่เห็นด้วย และมีการเดินออกจากห้องประชุม (walk out) ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ญัตติดังกล่าวได้รับการพิจารณาอีกครั้งในวันรุ่นขึ้น แต่ก็ไม่ครบองค์ประชุม เพราะฝ่ายค้านขอคงจุดยืนไม่ร่วมนับใหม่ ทำให้ไม่สามารถลงมติได้ ญัตติดังกล่าว ได้รับการพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 ผลการนับคะแนนปรากฎว่า ที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 5 คน ไม่เห็นด้วย 244 คน และงดออกเสียงอีก 6 คน ทำให้ที่ประชุมมีมติ ไม่ตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาผลกระทบจากประกาศ และคำสั่งของ คสช. และการใช้อำนาจของหัวหน้าคสช. ตามมาตรา 44

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 5
ไม่เห็นด้วย 244
งดออกเสียง 6
ไม่ลงคะแนน 242
4.12.2019

48% เห็นด้วย

ขอถอนญัตติ ตั้ง กมธ. วิสามัญ ศึกษาผลกระทบกฎอัยการศึก และพรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 240
ไม่เห็นด้วย 78
งดออกเสียง 149
ไม่ลงคะแนน 31
27.11.2019

79% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ. วิสามัญ ศึกษาโครงการผันน้ำ โขง เลย ชี มูล ป่าสัก

เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่การเกษตรจำนวนเกือบ 70,000,000 ไร่ แต่มีพื้นที่ชลประทานน้อยที่สุดเพียง 8.06 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.53 ของพื้นที่การเกษตร ทำให้พื้นที่อีก 60 ล้านไร่ ต้องอาศัยน้ำฝนเพื่อทำการเกษตร ทำให้ขาดความมั่นคงในเรื่องน้ำ ในช่วงฤดูฝนพื้นที่ดังกล่าวต้องประสบปัญหาน้ำท่วม และในฤดูแล้งต้องประสานงานการผลิตและน้ำเป็นประจำเกือบทุกปี ทำให้ผลผลิตข้าวนาปีและผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ มีปริมาณการผลิตที่ค่อนข้างต่ำกว่าทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ จึงได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น ที่ประชุมจึงพิจารณาตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาว่าหากพื้นที่ดังกล่าวมีการก่อสร้างโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล ป่าสัก จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 391
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 105
22.11.2019

75% เห็นด้วย

พิจารณาพ.ร.ก.โอนกำลังพลและงบประมาณฯ

30 กันยายน 2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาล 'คสช.2' ลงนามออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ เมื่อคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนดจะต้องนำให้รัฐสภาพิจารณารับรองทันทีที่เปิดประชุมสภา ปัญหาสำคัญของการออกพระราชกำหนดครั้งนี้ คือ เงื่อนไขในการออกพระราชกำหนด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 กำหนดว่า ต้องเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น ถ้าไม่มีเหตุเร่งด่วนคณะรัฐมนตรีควรเสนอกฎหมายเป็นร่างพระราชบัญญัติตามกระบวนการปกติ แต่คณะรัฐมนตรีโดยพล.อ.ประยุทธ์ ไม่สามารถอธิบายถึงความจำเป็นเร่งด่วนได้ 17 ตุลาคม 2562 เมื่อครม.นำพ.ร.ก.ฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ปิยบุตร แสงกนกกุล อภิปรายถึงความไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขของ มาตรา 172 ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ 70 คนลงมติไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ และแพ้ไปด้วยคะแนนรวม 374 ต่อ 70 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 374
ไม่เห็นด้วย 70
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 50
29.10.2019

51% เห็นด้วย

พ.ร.บ.งบประมาณฯ วาระที่ 1

ทางปฏิบัติในการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อรัฐบาลต้องการงบประมาณจะเสนอเป็น ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ทุกปี เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณ การพิจารณางบประมาณปี 2563 เป็นที่จับตาเพราะรัฐบาลมีเสียงสนับสนุนแบบ "ปริ่มน้ำ" และมี ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิอยู่ระหว่างการเลือกตั้งใหม่อีกจำนวนหนึ่งทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน หากมี ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลไม่ลงมติสนับสนุนอาจทำให้ร่างพ.ร.บ.งบประมาณที่รัฐบาลเสนอนั้นไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคกับการพัฒนางานของระบบราชการ และหากเป็นเช่นนั้นตามธรรมเนียมทางการเมืองรัฐบาลต้องรับผิดชอบโดยการลาออกหรือยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ 17 ตุลาคม 2562 สภาผู้แทนราษฎรนัดพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงสามวันเต็ม และในคืนวันที่ 19 ตุลาคม 2562 สภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติ เห็นชอบ 251 เสียง งดออกเสียง 234 เสียง ให้ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ผ่านวาระแรก เข้าสู่การตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดในวาระที่สองต่อไป ซึ่งกำหนดระยะเวลาพิจารณา 30 วัน ก่อนจะนำกลับเข้ามาอภิปรายในที่ประชุมของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง

ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 251
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 233
ไม่ลงคะแนน 12
29.10.2019
<1234567891011>