เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://theyworkforus.wevis.info

They Work For Us

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

46% เห็นด้วย

ร่างพรรคพลังประชารัฐ เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบคล้ายแบบรัฐธรรมนูญ 2540 ลดกลไกปราบทุจริต

ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ พรรคเดียว เสนอหลายประเด็นรวมกัน ดังนี้ 1) เพิ่มมาตรา 29 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 2) แก้ไขมาตรา 41(3) ในประเด็นสิทธิของชุมชน เพิ่มเติมให้ชุมชนยังมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐในกรณีที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐ 3) แก้ไขมาตรา 45 เลิกบังคับพรรคการเมืองทำ Primary Vote 4) เสนอให้นำระบบเลือกตั้ง "บัตรสองใบ" แบบรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้ แต่มีรายละเอียดต่างไป เช่น กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของพรรคที่ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ไว้ที่ 1% 5) แก้ไขมาตรา 144 ลดความเข้มงวดเรื่องทุจริต ยกเลิกการกำหนดโทษ ส.ส. หรือ ส.ว. หรือคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ แปรญญัติให้ตัวเองมีส่วนใช้งบประมาณ 6) แก้ไขมาตรา 185 ลดความเข้มงวดเรื่องทุจริต ยกเลิกการห้าม ส.ส. หรือ ส.ว. ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ 7) แก้ไขมาตรา 270 ให้อำนาจกำกับการปฏิรูปประเทศ และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ จากเดิมที่เป็นของ ส.ว. ฝ่ายเดียว ให้เป็นอำนาจของ ส.ส. ร่วมด้วย

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 334
ไม่เห็นด้วย 199
งดออกเสียง 173
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

54% เห็นด้วย

ร่างพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 1 เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เสรีภาพในการแสดงความเห็น

ร่างที่นำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 1 ประเด็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน 1) เพิ่มเติมมาตรา 25 ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ เขียนเพิ่มวรรคห้า ว่า "สิทธิหรือเสรีภาพตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงสิทธิหรือเสรีภาพตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย" 2) เพิ่มเติมมาตรา 29 เรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเอาสิทธิได้รับการพิจารณาประกันตัว "อย่างรวดเร็ว" กลับมา ซึ่งเคยมีอยู่แต่ฉบับ 2560 ตัดออก เพิ่มหลักการว่า การไม่ให้ประกันตัวต้องเป็นกรณีเชื่อว่าจะหลบหนีเท่านั้น และจำเลยจะถูกคุมขังระหว่างพิจารณานานกว่าหนึ่งปีไม่ได้ 3) เพิ่มมาตรา 29/1 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 4) เพิ่มเติมมาตรา 34 เรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นว่า การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพจะจำกัดการติชมด้วยความเป็นธรรมไม่ได้ 5) แก้ไขมาตรา 45 เรื่องสิทธิจัดตั้งพรรคการเมือง โดยผ่อนปรนเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยเขียนด้วยว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องไม่มีขึ้นตอนและความยุ่งยากเกินควร ส่วนการยุบพรรคการเมืองจะทำได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6) แก้ไขมาตรา 47 เรื่องสิทธิทางสาธารณสุข ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานและได้รับหลักประกันสุขภาพโดยถ้วนหน้า" เพิ่มคำว่า "สิทธิเสมอกัน" จากที่ฉบับปี 2560 เขียนเพียงว่ามีสิทธิ และยืนยันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีกระแสว่า ระบบหลักประกันสุขภาพอาถูกตัดทอนหรือยกเลิกภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 7) เพิ่มมาตรา 49/1 เป็นบทต่อต้านการรัฐประหาร ห้ามศาลและหน่วยงานรัฐยอมรับการรัฐประหาร ให้ความผิดฐานทำรัฐประหารไม่มีอายุความ ห้ามการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านการรัฐประหารโดยสันติวิธี 8) แก้ไขมาตรา 129 วรรคสี่ ให้กรรมาธิการ ส.ส. มีอำนาจเรียกเอกสารและเรียกบุคคลมาให้ข้อเท็จจริง และให้คำสั่งเรียกมีผลทางกฎหมาย การเสนอแก้ไขมาตรานี้สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า การกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ขัดหรือแยังต่อรัฐธรมนูญ

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 399
ไม่เห็นด้วย 136
งดออกเสียง 171
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

51% เห็นด้วย

ร่างพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 2 แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบแบบรัฐธรรมนูญ 2540

ร่างที่นำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 2 ประเด็นระบบเลือกตั้ง เสนอให้นำระบบเลือกตั้ง "บัตรสองใบ" แบบรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้ มี ส.ส. ระบบแบ่งเขต 400 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 376
ไม่เห็นด้วย 89
งดออกเสียง 241
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

62% เห็นด้วย

ร่างพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 3 แก้เรื่องที่มานายกรัฐมนตรีและยกเลิกอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

ร่างที่นำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 3 ที่มานายกรัฐมนตรี 1) แก้ไขมาตรา 159 เรื่องที่มานายกรัฐมนตรี ให้เลือกนายกฯ จากบัญชีว่าที่นายกฯ ก็ได้ หรือเลือกจาก ส.ส. จากพรรคที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 25 คนก็ได้ 2) ยกเลิกมาตรา 272 เรื่องช่องทางที่มานายกรัฐมนตรีคนนอก และอำนาจของ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ รัฐมนตรี

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 455
ไม่เห็นด้วย 101
งดออกเสียง 150
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

45% เห็นด้วย

ร่างพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 4 ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและยกเลิกอำนาจ ส.ว.บางประการ

ร่างที่นำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 4 รื้ออำนาจ คสช. 1) ยกเลิกมาตรา 65 275 ที่กำหนดให้มียุทธศาสตร์ของ คสช. แก้ไขมาตรา 142 และ 162 ไม่บังคับการเสนอร่างงบประมาณและการแถลงนโยบายต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ คสช. 2) ยกเลิกมาตรา 270 271 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการปฏิรูปประเทศ และกำกับยุทธศาสตร์ของ คสช. 3) ยกเลิกมาตรา 279 ไม่นิรโทษกรรมให้ คสช.

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 327
ไม่เห็นด้วย 150
งดออกเสียง 229
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021

62% เห็นด้วย

ร่างพรรคภูมิใจไทย ฉบับที่ 1 แก้ไขแผนยุทธศาสตร์ชาติ

ร่างที่นำเสนอโดยพรรคภูมิใจไทย ฉบับที่ 1 ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ เสนอให้ยกเลิกมาตรา 65 ที่กำหนดให้มียุทธศาสตร์ของ คสช. มาตราเดียว เพิ่มคำว่า "ปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์"

ไม่ผ่าน
โดยเฉลี่ย
เห็นด้วย 454
ไม่เห็นด้วย 86
งดออกเสียง 166
ไม่ลงคะแนน 27
24.6.2021
<1234567891011>